ในเอเชีย ผลกระทบจากสภาพอากาศสุดขั้วทำให้เกิดความกังวลทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยยะต่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง ภูมิภาคเอเชียเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปี 20232 มากที่สุด ซึ่งมีประชากรมากกว่า 9 ล้านคนในภูมิภาคนี้ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมและพายุ และเมื่อไม่นานมานี้ พายุไต้ฝุ่นแคมีก็ทำให้โครงการก่อสร้างนอกชายฝั่งที่มณฑลฝูเจี้ยน ประเทศจีน ต้องอพยพ และเรือต้องกลับเข้าฝั่ง3 เหตุการณ์ฝนตกหนัก น้ำท่วม และคลื่นความร้อนเป็นความท้าทายที่สำคัญสำหรับบริษัทก่อสร้าง เนื่องจากทำให้เกิดความล่าช้าอย่างมากและเพิ่มระยะเวลาในการดำเนินงาน
จากสถิติคลื่นความร้อนที่มีแนวโน้มจะเกิดบ่อยและยาวนานขึ้น อุตสาหกรรมก่อสร้างในภูมิภาคเอเชียจำเป็นต้องปรับตัวต่อความเสี่ยงที่เกิดจากการพึ่งพาแรงงานและการปฏิบัติงานกลางแจ้ง สถาบันเทคโนโลยีกองทัพอากาศมีรายงานว่าสำหรับทุก ๆ การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ 1 องศาเซลเซียส เหนือ 28 องศาเซลเซียส ประสิทธิภาพการทำงานของคนงานก่อสร้างอาจลดลงมากถึง 57%
ผลกระทบเหล่านี้ได้ส่งผลต่อบางบริษัทในสิงคโปร์แล้วเช่นกัน อย่างกรณีที่ผู้รับเหมาต้องเผชิญกับความล่าช้าถึงสองเดือนเนื่องจากมีคนงานลาป่วยมากขึ้นเนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น4 นอกจากนี้ ในสิงคโปร์มีการศึกษาที่พบความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกันระหว่างระดับการใช้แรงกายและจิตใจในการทำงาน ผลผลิต และความสูญเสียทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากภาวะความเครียดจากความร้อน และมีการคาดการณ์ว่าการสูญเสียเวลาทำงานที่มีประสิทธิภาพจะทำให้เกิดการสูญเสียมูลค่าผลผลิตทางเศรษฐกิจโดยรวมถึง 2.22 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ภายในปี 20355
นอกจากความล่าช้าและการสูญเสียประสิทธิภาพแล้ว บริษัทก่อสร้างยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากสภาพอากาศในห่วงโซ่อุปทานอีกด้วย ซัพพลายเออร์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศอาจประสบกับความเสียหายทางกายภาพต่อสิ่งปลูกสร้าง เครือข่ายการขนส่ง หรือโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเราสามารถเห็นผลกระทบนี้ในเอเชียได้ชัดเจน เนื่องจากภูมิภาคเอเชียเป็นจุดเริ่มต้นหรือจุดสิ้นสุดของเส้นทางการค้าใหญ่ที่สุดในโลกถึง 49 จาก 80 เส้นทาง โดยมี 22 เส้นทางที่ผ่านปลายทางทั้งสองด้าน ทำให้ผลกระทบต่อโครงการก่อสร้างยิ่งสาหัสขึ้น6
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีความถี่และระยะเวลาการเกิดสภาพอากาศรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้นนั้น ส่งผลให้การมีกลยุทธ์การจัดการความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนมากกว่าที่เคย
ช่วยในการวางแผนเชิงกลยุทธ์โดยการประเมินทางเลือกในการบรรเทาและถ่ายโอนความเสี่ยงโดยการเสนอภาพรวมในระยะยาว
การทบทวนการออกแบบวิศวกรรมความเสี่ยงร่วมกับการสร้างแบบจำลองความเสี่ยงช่วยในการจัดหาประกันภัยที่เหมาะสม
เสริมความยืดหยุ่นของโครงการโดยการระบุแหล่งทางเลือกต่าง ๆ
ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีการดำเนินงานก่อสร้างมากมายทั่วทั้งประเทศจีนสนใจการศึกษาผลกระทบของความเสี่ยงทางกายภาพจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อธุรกิจ และได้ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านความเสี่ยงทางกายภาพจาก Marsh Asia จัดทำการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้วยการใช้โมเดลที่เชื่อถือได้และทันสมัย ซึ่ง Marsh ได้ประเมินความเสี่ยงต่าง ๆ ที่ลูกค้าอาจต้องเผชิญ ทั้งภาวะร้อนจัด (extreme heat) วิกฤติความเครียดน้ำ (water stress) ลมพายุ แผ่นดินไหว สึนามิ รวมไปถึงฝนตกหนัก (extreme precipitation)
สิ่งที่ลูกค้าได้รับจากผลลัพธ์การวิเคราะห์มีดังนี้
ด้วยสภาพอากาศที่รุนแรงเกิดขึ้นบ่อยและยาวนานขึ้น บริษัทก่อสร้างในเอเชียจำเป็นต้องเข้าถึงข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้สามารถตัดสินใจทางธุรกิจบนพื้นฐานของข้อมูลและเพื่อสร้างความยืดหยุ่น
ผู้เชี่ยวชาญด้านความเสี่ยงสภาพภูมิอากาศของ Marsh Asia ใช้โมเดลและข้อมูลล่าสุดเพื่อประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศในโครงการก่อสร้างของลูกค้าอย่างครอบคลุม ช่วยให้ลูกค้าสามารถดำเนินกลยุทธ์เพื่อลดความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1 Air Force Institute of Technology (2021), Weather-related Construction Delays in a Changing Climate: A Systematic State-of-the-art Review
2 UN News (2024), WMO report: Asia hit hardest by climate change and extreme weather
3 The Guardian (2024), Typhoon Gaemi: ‘race against time’ to contain massive oil spill in Philippines
4 Channel News Asia (2023), Some contractors face delays of up to two months, as more workers fall sick due to warmer weather
5 National University of Singapore (2024), Heat stress causes lower fertility, productivity and reduced cognitive capacity: Project HeatSafe
6 Forbes (2024), In Asia’s New Era, Optimism Is Tempered By Political Change